โครงสร้างหัวข้อ
- General
- บทนำ
บทนำ
เราเคยไปหาซื้อหม้อแปลงไฟฟ้าแล้วที่ร้านไม่มีขายไหม? ในบางครั้งเราต้องการแรงดันไฟฟ้าใช้งาน 28 V 5A ถ้าหาซื้อตามท้องตลาด.. รับรองได้ไม่มีขายแน่นอน ในหัวข้อนี้เราจะมาพันหม้อแปลงไฟฟ้าใช้งาน เรามาพิจารณากันทีละขั้นตอน แล้วจะพบว่า การพันหม้อแปลง ไม่ยากอย่างที่คิดเลย..
- ทำไมต้องทำเองนะ
ทำไมต้องทำเองนะ
เข้าใจกันก่อน..
ก่อนที่เราต้องการใช้งานหม้อแปลงสักตัว เราจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้างละ..
1. ไฟเข้า 220 V ไฟออกกี่โวลต์ 6, 9, 12, 24 หรือเท่าไร ใช้กระแสไฟฟ้ากี่แอมป์ แบบแรกมีขายแต่ถ้าต้องการ 28 V หละ !!
2. ใช้หม้อแปลงขนาดกี่วัตต์ กี่ VA, KVA ขนาดไหน
3. จะเป็นแบบแยกขดหรือเปล่า มีขดลวดกี่ชุด มีเซนเตอร์แทปหรือเปล่า...
หม้อแปลงที่จะนำไปใช้งานนั้น จะพันขึ้นมาใหม่โดยจัดหาแกนเหล็กและบอบบิ้นใหม่ หรือจะใช้หม้อแปลงตัวเก่าที่ไม่ใช้งานแล้ว นำมารื้อเอาแกนเหล็ก บอบบิ้น มาใช้เพื่อเป็นการประหยัด !!!
เอาไงดี...
- วิธีคิด
วิธีคิด
การคำนวณหาขนาดหม้อแปลงมาใช้งาน สิ่งที่ต้องคำนึงถีงคือ
1. ขนาดของหม้อแปลง มีหน่วยเป็น วีเอ ต้องเลือกขนาดของหม้อแปลงให้มากกว่าโหลด (เผื่อ 20 เปอร์เซนต์) หรือเท่ากับ
2. แรงดันและกระแสที่จะนำไปใช้งานกับโหลด แรงดันต้องเลือกให้เท่ากับโหลด ส่วนกระแสที่หม้อแปลงจะจ่ายออกมา ให้เลือกมากกว่า (เผื่อ 20 เปอร์เซนต์) หรือเท่ากับ
3. ขนาดพื้นที่หน้าตัดของแกนเหล็ก ในกรณีที่ต้องใช้แกนเหล็กเก่า โดยต้องคำนวณออกมาให้ได้ก่อนว่า แกนเหล็กที่มีอยู่นั้น จะสามารถพันหม้อแปลงตัวใหม่ได้ขนาดเท่าไร
- คำนวณกันเลย
คำนวณกันเลย
มาเริ่มวิธีการกันเลย..
1. เมื่อเราได้ขนาดของหม้อแปลงที่ต้องการแล้ว อันดับแรกคือคำนวณหาขนาดพื้นที่หน้าตัดแกนเหล็กของหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อเราจะหาขนาดของแกนเหล็กตัว E I และขนาดของบอบบิ้น? เอา VA หรือ VI ของหม้อแปลงมาคำนวณ
สูตร A = squar root VA/5.58
เมื่อ A = พื้นที่หน้าตัดของแกนเหล็กหม้อแปลง
VA = ขนาดของหม้อแปลงไฟฟ้า
5.58 = ค่าคงที่2. นำค่า A มาคำนวณหาจำนวนรอบต่อ 1 โวลต์ ( ตรงนี้จะหมายความว่า หม้อแปลงลูกที่เราจะพันนี้ ถ้าเราพันขดลวดทองแดงรอบแกนเหล็กไปกี่รอบถึงจะเหนี่ยวนำแรงดันออก 1 V.) จากสูตร
N/V = 7.5/A
3. นำค่า N/V มาคำนวณหาจำนวนรอบที่จะพันหม้อแปลงด้าน Primary และ Secondary เช่น หม้อแปลงไฟเข้า 220 โวลต์ ไฟออก 12 โวลต์ เราต้องพันดังนี้
จำนวนรอบทางด้านไฟเข้า = N/V x แรงดันไฟเข้า
จำนวนรอบทางด้านไฟออก = N/V x แรงดันไฟออก4. คำนวณหาขนาดของเบอร์ลวด ด้านไฟเข้าและด้านไฟออก โดยจะต้องรู้ค่ากระแสใช้งานด้านไฟเข้าและด้านไฟออก ก่อน โดยคำนวณจากสูตร
กระแสไฟฟ้าด้านไฟเข้า = กำลังไฟฟ้าของหม้อแปลง/แรงดันไฟฟ้าด้านไฟเข้า
กระแสไฟฟ้าด้านไฟออก = กำลังไฟฟ้าของหม้อแปลง/แรงดันไฟฟ้าด้านไฟออก5. เมื่อได้ค่ากระแสไฟฟ้าแล้ว นำมาคูณกับค่าคงที่ คือ 500 จะเป็นค่าพื้นที่หน้าตัดของลวดทองแดงเป็น เซอร์คูลล่าร์มิล
6. นำค่าเซอร์คูลล่าร์มิลด้านไฟเข้า และด้านไฟออก ไปเปิดตารางหาค่าขนาดเบอร์ลวดทองแดงที่จะใช้พันหม้อแปลงไฟฟ้า
วิธีการคำนวณและพันหม้อแปลงโดยละเอียด มีแบบฟอร์มให้ทำการคำนวณหาขนาดของแกนเหล็ก ขนาดของขดลวด จำนวนรอบของขดลวดที่จะใช้พัน ==> ให้ Download เอกสารที่ลิ้งค์ด้านล่าง
บทความนี้เราใช้มานานถึง 40 ปีแล้ว เราได้ทดลองพันหม้อแปลงขนาด 100VA 500VA หรือ 1000VA ก็สามารถใช้งานได้ดีมากๆ ขอบอก..
- เดี๋ยวว่างๆ จากการเป็นวิทยากร จะมาพันหม้อแปลงกันสักตัวหนึ่ง
- หัวข้อ 6
- หัวข้อ 7